วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

วัดหลวงพ่อโต

    วัดโนนกุ่ม อ. สีคิ้ว หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ วัดหลวงพ่อโต ที่มีการสร้างรูป หล่อทองเหลืองรมดำของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหฺมรังสี ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยโบสถ์มีการสร้างอย่างงดงามและใหญ่โต ขนาดนี้ยังสร้างไม่แล้วเสร็จกำลังดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องครับ โดยคุณสรพงษ์ ชาตรี ดารานักแสดงได้เป็นผู้เริ่มดำเนินการสร้างรูปหล่อหลวงพ่อโต  และโบสถ์ อื่นๆ ภายในวัด รวมทั้งสวนอุทยานที่สวยงามภายในวัด ทำให้เป็นสถานที่น่าท่องเที่ยวอีกแห่งในโคราช

  วัดโนนกุ่มนี้ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพฝั่งขาเข้าโคราช อย่างห่างจากตัวเมืองโคราชประมาณ 45 กิโลเมตร ภายในวัดแห่งนี้นอกจากเราจะมากราบไหว้หลวงพ่อโต เพื่อความศิริมงคลและยังมีโรงอาหารหรือโรงทานให้รับประทานอาหารและบริจาค  เงินตามกำลังศรัทธา ในโรงทานก็จะมี ราดหน้าหมูมักที่อาหารพอๆ กับราดหน้าเสวยเลยทีเดียวครับ แล้วมีน้ำแข็งใสเป็นของหวานให้รับประทาน สามารถทานได้เรื่อยๆ แบบไม่มีหวงกันเลยครับ จากนั้นเราก็จะเดินดูบริเวณโดยรอบจะมีอุทยานสวนหย่อมต่างๆ ที่สวยงามและรมรื่นให้นั่งพักผ่อนและถ่ายรูปก่อนกลับครับ
      




ภายในวัดแห่งนี้มากราบไหว้สักการะขอพรหลวงพ่อโต เพื่อความศิริมงคลให้แก่ชีวิต บริเวณโดยรอบจะมีอุทยานสวนหย่อมต่างๆ ที่สวยงามและร่มรื่นให้นั่งพักผ่อน

วัดโนนกุ่ม (วัดสรพงษ ์)วัดโนนกุ่ม (วัดสรพงษ ์)
วัดโนนกุ่ม (วัดสรพงษ ์)วัดโนนกุ่ม (วัดสรพงษ ์)
วัดโนนกุ่ม (วัดสรพงษ ์)วัดโนนกุ่ม (วัดสรพงษ ์)
วัดโนนกุ่ม (วัดสรพงษ ์)วัดโนนกุ่ม (วัดสรพงษ ์)
วัดโนนกุ่ม (วัดสรพงษ ์)วัดโนนกุ่ม (วัดสรพงษ ์)
วัดโนนกุ่ม (วัดสรพงษ ์)วัดโนนกุ่ม (วัดสรพงษ ์)



การเดินทางไปวัดโนนกุ่ม หรือวัดหลวงพ่อโต
วัดสรพงษ์ หรือวัดโนนกุ่ม หรือวัดหลวงพ่อโต สีคิ้ว หาได้ไม่ยากเลยครับ เนื่องจากความยิ่งใหญ่ของอุโบสถ ความสวยงามของตัววัดที่อยู่ริมถนนมิตรภาพฝั่งขาเข้า อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา เรียกว่าใครขับเข้าเมืองโคราชก็ต้องผ่านวัดแห่งนี้กันล่ะ วัดโนนกุ่ม หรือวัดสรพงษ์ตั้งอยู่ในอำเภอสีคิ้วครับ ขับมาจากกรุงเทพฯ มาทางจังหวัดสระบุรี เข้ามาทางอำเภอเมืองโคราชบนถนนมิตรภาพวัดจะอยู่ฝั่งซ้ายมือ ส่วนใครที่มาจากอำเภอเมืองโคราช ก็ขับออกมาจากตัวเมืองประมาณ 40 – 50 กิโลเมตร จะเห็นวัดอยู่ฝั่งขวามือให้กลับรถบริเวณอำเภอสีคิ้ว…วัดใหญ่มากครับ ไม่หลงแน่นอน ไปสักการะกราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตัวท่านเองกันนะครับ

อนุสวรีย์ท้าวสุรนารี(ย่าโม)

    อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี  ตั้งอยู่ในทำเลกลางเมืองเป็นจุดท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของโคราช อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำสูง 185 เซนติเมตร หนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองสูง 250 เซนติเมตร หันหน้าไปทาง ด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร ภายในบรรจุอัฐิของท้าวสุรนารีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหรือย่าโมของชาวโคราช ถือเป็นอนุสาวรีย์ที่ สร้างขึ้นมาเพื่อระลึกถึงและยกย่องคุณงามความดีของวีรสตรีสามัญชนคนแรกของประเทศท้าวสุรนารี หรือย่าโมที่ชาวโคราช เรียกขานกันอย่างคุ้นเคยท่านเป็นวีรสตรีในประวัติศาสตร์ที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมือง จึงเป็น บุคคลที่ชาวโคราช ภาคภูมิใจและเคารพบูชา ย่าโมกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวโคราชกระทั่งเรียกชื่อจังหวัดนี้ว่า "เมืองย่าโม" 
     
    ในทุกปี ในช่วงระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 3 เมษายน จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของ ท้าวสุรนารีขึ้นเพื่อรำลึกถึง ความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้น โดยมีการบวงสรวงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พิธีจุดพลุสี่มุมเมือง ซึ่งมีการเริ่มต้นครั้งแรกในปพ.ศ.2477 นอกจากนี้ในงานยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยงานราชการและเอกชน รวมทั้งกิจกรรมบันเทิง ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน


อนุสวรีย์ท้าวสุรนารีย์


....ท้าวสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย

ควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน
บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี
รู้จักหน้าที่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมาได้แสดงพลังต้องการ
ความเรียบร้อย ความสงบ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง
แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก
แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง...
  

    ปัจจุบันอนุสวรีย์ท้าวสุรนารี ถือเป็นที่สักการะของผู้คนจำนวนมาก ที่หลังไหลเข้ามากราบไหว้บูชาอย่างไม่ขาดสาย ย่าโมจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดโคราชมาจนถึงปัจจุบัน               




วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ปราสาทหินพิมาย

    เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะเขมร หรือ กัมพูชา มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

      ประวัติ : สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคที่อาณาจักรขอมแผ่อิทธิพลมายังภูมิภาคนี้ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1761)มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรขอมใน พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและเริ่มบูรณะในปี พ.ศ.2494และ พ.ศ.2497กรมศิลปากรได้บูรณะองค์ปรางประธานอีกครั้ง โดยได้รับเงินงบประมาณจากรัฐบาลฝรั่งเศษ จนแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ.2507-2512  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ได้กำหนดให้เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ.2529 โดยมีการอนุรักษ์และบูรณะเป็นอย่างดี
     สิ่งน่าสนใจ : ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ไปทางที่ตั้งของเมืองพระนคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขอม ปราสาทหินพิมายมีแบบแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 ม.ยาว1,030 ม.ล้อมรอบด้วยคูน้ำมีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในบริเวณปราสาทหิน มีโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่งโดยเริ่มตั้งแต่ทางเข้าตามลำดับดังนี้คลังเงิน จากประตูชัยเข้าไปก่อนถึงตัวปรางค์จะเห็นคลังเงินอยู่ทางทิศตะวันตก หรือทางด้านซ้ายมือปัจจุบัน อาคารคลังเงินเหลือเพียงซากฐานอาคารขนาดใหญ่ ที่เรียกอาคารหลังนี้ว่า คลังเงิน เพราะเคยพบเหรียญสำริดโบราณซึ่งด้านหนึ่งเป็นรูปครุฑหรือหงส์อีกด้านอีกด้านเป็นอักษรโบราณ นอกจากนี้ยังพบทับหลังจำหลักเป็นรูปคนกำลังหลั่งน้ำมอบม้าแก่พราหมณ์สะพานนาค เป็นทางที่ทอดนำไปสู่ตัวปรางค์มีนาคทอดตัวยาวเป็นราวบันได ชูเศียรทั้งเจ็ดแผ่พังพานเปล่งรัศมีอย่างสวยงาม นาคเป็นสัตว์มงคลที่พบตามโบราณสถาน ที่ได้รับอิทธิพลจากคติของศาสนาฮินดู หรือพราหมณ์ซึ่งเชื่อว่านาคทอดร่างเป็นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ที่เชิงบันไดนาคทั้งสองข้างมีสิงห์จำหลักจากหินประดับอยู่ข้างละตัว สิงห์มีท่าทางองอาจเสมือนเป็นผู้พิทักษ์โบราณสถานลักษณะทางศิลปกรรมของสิงห์และนาคนี้ คล้ายศิลปะที่นครวัดที่สร้างในช่วงรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1656-1688)ซุ้มประตู หรือโคปุระชั้นนอก มีทั้งหมดสี่ด้านอยู่กึ่งกลางแนวกำแพงลักษณะสร้างเหมือนกันทุกด้าน คือมีฐานกว้างสามคูหามีเสาศิลา ช่องลมประดับข้างละสองช่อง เคยพบทับหลังชิ้นหนึ่งที่โคปุระทิศตะวันตก สลักเป็นรูปขบวนแห่พระพุทธรูปนาคปรกประดิษฐานบนคานหาม ทับหลังชิ้นนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย


   ปราสาทหินพิมายเป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจไปศึกษาประวัติความเป็นมาของปราสาทหินพิมาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจัดหวัดโคราชมาช้านาน